ภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้า

ภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้าคืออะไร?

ภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้า (Adrenal Fatigue) เป็นภาวะที่ต่อมหมวกไตทำงานผิดปกติจากความเครียดเรื้อรังหรือการใช้พลังงานมากเกินไป
ส่งผลให้การผลิตฮอร์โมน เช่น คอร์ติซอล (Cortisol) และอะดรีนาลีน (Adrenaline) ลดลงหรือไม่สมดุล ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและมีปัญหาสุขภาพหลายอย่าง

อาการของผู้ป่วยภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้า

  • อ่อนเพลียเรื้อรัง แม้นอนหลับเพียงพอ

  • ตื่นนอนแล้วรู้สึกไม่สดชื่น ง่วงนอนตลอดวัน

  • ความเครียดสูง วิตกกังวล ซึมเศร้า

  • ความสามารถในการจัดการความเครียดลดลง

  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือมีปัญหาการลดน้ำหนัก

  • ความดันโลหิตต่ำ รู้สึกหน้ามืดหรือเวียนศีรษะเมื่อยืนขึ้น

  • อยากอาหารรสหวานหรือเค็มเป็นพิเศษ

  • ระบบย่อยอาหารมีปัญหา เช่น ท้องอืด ท้องเสีย หรือท้องผูก

  • ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นหวัดหรือเจ็บป่วยบ่อย

  • อาการก่อนมีประจำเดือนรุนแรง หรือรอบเดือนผิดปกติในผู้หญิง

  • สมองตื้อ หลงลืมง่าย หรือมีภาวะคิดช้า

ต้องตรวจอะไรบ้าง?

การวินิจฉัยภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้าสามารถทำได้ผ่านการตรวจทางห้องปฏิบัติการดังนี้:

  • การตรวจคอร์ติซอล (Cortisol Test) – ตรวจระดับคอร์ติซอลจากน้ำลายหรือเลือดในช่วงเวลาต่างๆ ของวัน

  • ACTH Stimulation Test – ตรวจดูว่าต่อมหมวกไตสามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนกระตุ้นจากต่อมใต้สมองได้ดีหรือไม่

  • DHEA-S (Dehydroepiandrosterone Sulfate) – ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระดับพลังงานและสมรรถภาพของร่างกาย

  • Electrolyte Panel – ตรวจระดับโซเดียมและโพแทสเซียม ซึ่งอาจเสียสมดุลในผู้ที่มีภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้า

  • Thyroid Function Test – ตรวจฮอร์โมนไทรอยด์ เพราะภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้ามักสัมพันธ์กับภาวะไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

  • Fasting Insulin และ Glucose Test – ตรวจระดับน้ำตาลและอินซูลินเพื่อตรวจสอบภาวะดื้อต่ออินซูลินที่อาจเกิดร่วมกัน

 

ต้องตรวจเเลปอะไรบ้าง?

การตรวจฮอร์โมนเพศหญิงสามารถทำได้ผ่านการตรวจเลือด และสามารถประเมินวันการตรวจได้จากรอบเดือน ได้แก่ :

  • Estradiol (E2) – ระดับเอสโตรเจนที่มีผลต่อรอบเดือนและการเจริญพันธุ์

  • Progesterone – ฮอร์โมนที่สำคัญต่อการตั้งครรภ์และการควบคุมรอบเดือน

  • FSH (Follicle-Stimulating Hormone) – ฮอร์โมนที่ควบคุมการตกไข่และใช้ประเมินภาวะหมดประจำเดือน

  • LH (Luteinizing Hormone) – ฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดการตกไข่

  • Prolactin – ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างน้ำนมและอาจส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก

  • DHEA-S – ฮอร์โมนที่มีบทบาทต่อพลังงานและอารมณ์

  • Testosterone (ในเพศหญิง) – ระดับสูงเกินไปอาจเกี่ยวข้องกับภาวะถุงน้ำรังไข่ (PCOS)

 

ใครบ้างที่ควรตรวจภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้า?

  • ผู้ที่มีความเครียดเรื้อรังจากการทำงานหรือชีวิตส่วนตัว

  • ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • ผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ หรือพักผ่อนแล้วไม่สดชื่น

  • ผู้ที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันต่ำ เจ็บป่วยบ่อย

  • ผู้ที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือมีปัญหาในการลดน้ำหนัก

  • ผู้ที่มีอาการของไทรอยด์ต่ำแต่ผลตรวจไทรอยด์ปกติ

  • ผู้ที่มีความผิดปกติของรอบเดือน หรืออาการก่อนมีประจำเดือนรุนแรง

  • ผู้ที่มีความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือด

  • ผู้ที่รู้สึกเครียดง่าย หงุดหงิด และมีอารมณ์แปรปรวนบ่อย

 

ภาวะต่อมหมวกไตอ่อนล้าอาจเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวม หากคุณมีอาการที่เข้าข่าย
ควรเข้ารับการตรวจเพื่อประเมินสมดุลของฮอร์โมนและรับคำแนะนำจากแพทย์ในการดูแลสุขภาพของคุณให้ดียิ่งขึ้น

บทความโดย พญ.รวิปรียา ภูมิโคกรักษ์แพทย์

เวชศาสตร์ป้องกัน เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ

Previous
Previous

EDIM Test คืออะไร?

Next
Next

ฮอร์โมนเพศหญิง